เป้าหมาย (Understanding Goal):
ความรู้: เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการจัดการชุดข้อมูลต่างๆและมีวิธีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
ทักษะ: การแสวงข้อมูล / การคิด/จัดการข้อมูล / การนำเสนอ
คุณลักษณะ: มีเป้าหมายในการเรียนรู้ / แรงบันดาลใจ / เอื้อเฟื้อข้อมูล

week 7

   เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค  การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า  รวมทั้งเข้าใจ           
   หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
Week
Input
Process
Output
Outcome





โจทย์ : เศรษฐศาสตร์
 Key Questions :
- เราจะจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างไร เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าสูงสุด?
- ถ้าทรัพยากรมีอย่างจำกัด แต่ความต้องการของมนุษย์มีไม่จำกัด มนุษย์จะมีวิธีจัดสรรทรัพยากรอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
Round Robin: อภิปรายร่วมกันถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเล่นเกม
Chart and Chart: วิเคราะห์ปัญหาจากการเลี้ยงไก่ใน 2

วันจันทร์
ชง: ครูและนักเรียนเล่นเกมไพ่ขายผลไม้
เชื่อม:
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อย่างไรจากการเล่นเกมไพ่ขายผลไม้?”
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
ชง: ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม”ความสำเร็จและความล้มเหลวจากการเลี้ยงไก่ไข่มีอะไรบ้างอย่างไร?”
เชื่อม:
- นักเรียนวิเคราะห์ปัญหาจากการเลี้ยงไก่ใน 2 Quarter ที่ผ่านมา (Chart and Chart)
วันพุธ
ชง:  ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “จากการวิเคราะห์ปัญหาการเลี้ยงไก่ใน 2 Quarter นักเรียนจะหาแนวทางแก้ไขอย่างไร?”
เชื่อม :
- นักเรียนแบ่งกลุ่มวิเคราะห์ปัญหาพร้อมทั้งสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อหาแนวทางแก้ไขและออกแบบการจัดการ กระบวนการของโครงการระยะยาว
- นักเรียนนำเสนอโครงการ
ภาระงาน
- การเล่นเกมไผ่ขายผลไม้
- การวิเคราะห์ปัญหาจากการเลี้ยงไก่ใน3 Quarter ที่ผ่านมา
- การออกแบบโครงการจัดกระบวนการโครงการระยะยาว
- การนำเสนอโครงการ
- การแลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ชิ้นงาน
- ชาร์ตกระบวนการของโครงการระยะยาว
- Place mat
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค  การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า  รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
ทักษะ:
ทักษะการจัดการข้อมูล
มีการจัดกลุ่มความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร   ที่ได้จากการสืบค้น จำแนกเป็นประเด็นความรู้เดิม  กับประเด็นที่เป็นความรู้ใหม่ หรือนำเสนอประเด็นที่เป็นสาระสำคัญได้อย่างสอดคล้องน่าเชื่อถือ






17

22 - 26
กุมภาพันธ์
2559

Place mat: วิเคราะห์จากคำถามในการเลี้ยงไก่และการใช้ชีวิต
Show and Share: นำเสนอ Place mat
Wall Thinking: ติดชิ้นงานสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู
นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
- อุปกรณ์ในการเล่นเกม
วันพฤหัสบดี
ชง:
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “จากการเลี้ยงไก่นักเรียนคิดว่ามีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตอย่างไร?”
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
เชื่อม:
- นักเรียนแบ่งกลุ่มวิเคราะห์จากคำถาม(Place mat)
“ถ้าทรัพยากรมีอย่างจำกัด แต่ความต้องการของมนุษย์มีไม่จำกัด มนุษย์จะมีวิธีจัดสรรทรัพยากรอย่างไร?” / “ ถ้าไม่มีระบบเงินตรา สังคมจะเป็นอย่างไร? “การที่เราตีค่าทรัพยากรในเชิงคุณค่าหรือมูลค่า ส่งผลต่อการจัดสรรทรัพยากรเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?” / “เราจะจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างไร เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าสูงสุด?


ทักษะชีวิต
ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน
สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะการสื่อสาร
เข้าใจและสามารถสรุปความรู้ คุณค่า ทัศนคติ จากสิ่งที่ได้ฟัง สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้
ทักษะ ICT
อธิบายและรู้แหล่งที่มาของข้อมูลที่หลากหลายและ เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์









วันศุกร์
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ ความรู้ใหม่ที่ได้คืออะไร?”/ ”นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร?”
เชื่อม:
นักเรียนอภิปรายร่วมกันถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ใช้: จัดการชุดความรู้ลงในกระดาษ A4

คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 


ตัวอย่างกิจกรรม

ตัวอย่างชิ้นงาน







1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้ว่าด้วยนื้อหาของเศรษฐศาสตร์จากประสบการณ์การทำธุระกิจที่สืบเนื้องมาจากม.2 และยังมีไก่พันธุ์ไข่ที่ดูแลมาโดยตลอด เพื่อเชื่อมโยงเข้าดู่เนื้อหาครูดอกไม้จึงให้พี่ๆม.3วิเคราะห์ช่วยกันว่าตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว การเลี้ยงไก่ของเราประสบผลสำเร็จหรือไม่ ครูจุลเริ่มต้นด้วยการพาพี่ๆเล่นเกมไผ่ขายผลไม้เพื่อทบทวนหลัการทางเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น จากนั้นจึงแบ่งกลุ่มให้พี่ๆได้ลองวิเคราะห์ปัญหาจากการเลี้ยงไก่ว่าปัจจัยใดที่ทำให้ผลกำไรไม่คุ้มค่ากับการลงทุน จากการทำงานของพี่ๆได้เห็นการรับฟังความคิดเห็นของผุ้อื่นอย่างไม่ตัดสิน แต่ทุกคนฟังแล้วคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน เห็นการวางแผนงานระยะยาวอย่างเป็นขั้นตอนมากยิ้งขึ้น และเนื้องด้วยใกล้เวลาแห่งการสอบโอเน็ตพี่ๆยังต้องทบทวนเนื้อหากันอย่างเข้มข้นอีกด้วยค่ะ

    ตอบลบ